คองส่งน้ำ ล่าสุด และ แหล่งน้ำ เมืองหาดใหญ่

หลังจากที่คลองส่งน้ำสร้างเสร็จ เรามาลองดูกันว่า จริงๆแล้วน้ำ ใน หาดใหญ่ มาจากไหนกัน? คลองเตย เป็นคลองสายเก่าแก่ที่สุดของนครหาดใหญ่ อยู่ทางทิศตะวันออกของตัวเมือง ไหลเข้าสู่ทางด้านใต้ของสถานีรถไฟหาดใหญ่ ผ่านบริเวณทุ่งเสาไหลเรียบ ถนนสายต่าง ๆ คลองอู่ตะเภา อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของตัวเมืองหาดใหญ่ ยาวประมาณ 15 กิโลเมตร เคยเป็นเส้นทางสัญจรสำคัญระหว่างเมืองสงขลาและเมืองไทรบุรี (รัฐเกดะห์ของประเทศมาเลเซียในปัจจุบัน) แต่ ณ ปัจจุบัน (พ.ศ. 2549) คุณภาพของน้ำในคลองอยู่ในสถานการณ์น่าเป็นห่วง

หาดใหญ่ กับ ลักษณะทางภูมิศาสตร์ น่ารู้

เรียนรู้ อ่านสนุกกับ hatyai.blogtika.com กับลักษณะทางภูมิศาสตร์ ลักษณะภูมิประเทศของอำเภอหาดใหญ่โดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่มกว้างใหญ่ มีแนวภูเขาทางด้านทิศตะวันตก ทิศใต้ และทิศตะวันออก โดยพื้นที่ลาดจากทิศใต้และทิศตะวันตกไปสู่ทะเลสาบสงขลา มีพื้นที่ติดกับทิวเขาบรรทัดทางทิศเหนือ และติดกับทิวเขาสันกาลาคีรีทางทิศตะวันตกและทิศใต้ ภูเขาที่สำคัญได้แก่ เขาคอหงส์ เขาแก้ว เขาวังพา และเขาน้ำน้อย สภาพภูมิอากาศมีความคล้ายคลึงกับสภาพอากาศโดยทั่วไปของภาคใต้ที่อยู่ในเขตภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน แบ่งออกเป็น 2 ฤดูกาล คือฤดูฝนและฤดูร้อน ฤดูฝนมี 2 ระยะ เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน และเดือนกันยายน-ธันวาคม

ที่ตั้งและอาณาเขต ของ หาดใหญ่ ไปไงมาไง?

ลองอ่านดูสักนิดกับ เรื่องราว หาดใหญ่ เมืองสิ่งความทันสมัย อำเภอหาดใหญ่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองจังหวัด ระยะทางห่างจากตัวเมืองสงขลา 30 กิโลเมตร อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครตามเส้นทางรถไฟประมาณ 974 กิโลเมตร และทางรถยนต์ประมาณ 993 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้ ทิศเหนือ จรดทะเลสาบสงขลา และติดต่อกับอำเภอรัตภูมิ อำเภอบางกล่ำ อำเภอควนเนียง และอำเภอเมืองสงขลา ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเมืองสงขลา อำเภอนาหม่อม และอำเภอจะนะ ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอสะเดาและอำเภอคลองหอยโข่ง ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอควนกาหลง (จังหวัดสตูล) และอำเภอรัตภูมิ

กิจการรถไฟ มีบทบาทต่อการขยับขยายของ ชาวหาดใหญ่

เสมอมา และ ต้องการให้เสมอไป กับประวัติน่าสนใจของเมืองหาดใหญ่ กิจการรถไฟ ที่เราใช้บริการเป็น จุดเริ่มต้น ของ เมืองหาดใหญ่ นั่นเอง ฉะนั้นอาจกล่าวได้ว่ากิจการรถไฟมีบทบาทต่อการขยับขยายและความเจริญก้าวหน้าของนครหาดใหญ่ตลอดมา ต่อมาได้มีผู้เห็นการณ์ไกลว่า บริเวณสถานีรถไฟหาดใหญ่นี้ต่อไปภายหน้าจะต้องเจริญก้าวหน้าอย่างแน่นอน จึงได้มีการจับจองและซื้อที่ดินแปลงใหญ่จากราษฏรพื้นบ้าน บุคคลที่ครอบครองแผ่นดินผืนใหญ่ ๆ อาทิ นายเจียกีซี (ต่อมาได้รับพระราชทานนามเป็นขุนนิพัทธ์จีนนคร) คุณพระเสน่หามนตรี นายซีกิมหยง และพระยาอรรถกระวีสุนทร ทั้ง 4 ท่านนี้นับว่าเป็นบุคคลที่มีส่วนในการสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าให้แก่นครหาดใหญ่อย่างแท้จริง ได้ตัดถนนสร้างอาคารบ้านเรือนให้ราษฏรเช่า ตัดที่ดินแบ่งขาย เงินที่ได้ก็นำไปตัดถนนสายใหม่ต่อไป ทำให้ท้องถิ่นรุดหน้าอย่างอัศจรรย์ ชุมชนหาดใหญ่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว จนทางราชการต้องยกฐานะให้บ้านหาดใหญ่เป็นอำเภอ มีชื่อว่า อำเภอเหนือ ต่อมาในปี พ.ศ. 2460 ได้เปลี่ยนชื่อจากอำเภอเหนือเป็น อำเภอหาดใหญ่ และได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอชั้นเอกในที่สุดเมื่อปี พ.ศ. 2471

สถานีชุมทาง หาดใหญ่ วิวัฒนาการ สู่ ดินแดนในฝัน

ไปไปมามา เมืองหาดใหญ่ ดินแดนแห่งนี้ เกิดขึ้นได้อย่างไร เราลองมาเรียนรู้กันครับ โดย สมัยนั้นสถานีชุมทางรถไฟอยู่ที่สถานีชุมทางอู่ตะเภา (ด้านเหนือของสถานีชุมทางหาดใหญ่ ปัจจุบันทั้งตัวอาคารสถานีและป้ายสถานีอู่ตะเภาได้ถูกรื้อถอนออกไปหมดแล้ว) เนื่องจากพื้นที่บริเวณสถานีอู่ตะเภาเป็นที่ลุ่ม น้ำท่วมเป็นประจำ ทางการรถไฟจึงได้ย้ายสถานีมาอยู่ที่สถานีชุมทางหาดใหญ่ปัจจุบัน ประชาชนได้ทยอยติดตามมาสร้างบ้านเรือนตามบริเวณสถานีนั่นเอง

Pages: << 1 ... 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 >>

ค้นหา HATYAI.BLOGTIKA.COM

แนะนำเรื่องโดดเด่นที่สุดในบล็อกขณะนี้

10 อันดับเรื่องที่ได้รับความนิยมสูงสุด

ติดตาม HATYAI.BLOGTIKA.COM

  • ผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์กของ Twitter
  • ขณะนี้ Hatyai Community News & Activities มีผู้เข้าชมแล้วถึง คน
Powered by Blogtika Copyright © 2009-2012 Hatyai Community News & Activities All rights reserved designed by blogtika.com